ระบบ LMS (Learning Management
System) คือระบบการจัดการเรียนรู้ ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ
สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ห้องสนทนา กระดานถาม
- ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล
กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์
ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management ) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ
โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management ) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดี
3. ระบบการทดสอบและประเมินผล ( Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน
และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4. ระบบส่งเสริมการเรียน ( Course Tools ) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ
ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลได้
5. ระบบจัดการข้อมูล ( Data Management System ) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้
บทละครเรื่อง รามเกียรติ์
เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เนื้อเรื่องมาจากวรรณคดีของอินเดียเรื่อง รามายณะ
อันเป็นวรรคดีที่สำคัญและมีมานานกว่า ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว ไทยเรานำมาเล่นเป็นหนังและโขน
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์
เป็น กลอนบทละคร แต่ไม่แพร่หลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเกรงว่า
เรื่อง รามเกียรติ์ จะสูญไปเสียจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นและได้โปรดเกล้าฯ
ในกวีในสมัยของพระองค์ร่วมนิพนธ์ด้วยหลายตอนรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ฉบับนี้
ถ้าเปรียบเทียบกับวรรณคดีเรื่อง รามายณะ ของอินเดียแล้วก็มีที่แตกต่างกันหลายอย่าง
เช่น เนื้อเรื่องบางตอน ชื่อตัวละครบางตัว เป็นต้น นอกจากนี้ในอินเดีย
วรรณคดีเรื่องนี้ถือกันว่าเป็นคัมภีร์สำคัญเพราะเป็นเรื่องราว
ที่แสดงให้เห็นอิทธิฤทธิ์ของ พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ด้วยเหตุที่ไทย
เรานับถือพุทธศาสนา เราจึงมิได้ยึดถือเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจังนัก
เรื่องย่อ
ไมยราพเจ้าเมืองบาดาล มีกล้องยาวิเศษพร้อมมนต์สะกด เมื่อเป่ายา
และร่ายมนต์ก็สามารถสะกดคนให้หลับหมดได้
ไมยราพได้รับบัญชาจากทศกัณฐ์ให้มาช่วยรบกับพระรามก่อนทำศึกกับพระราม
ไมยราพฝันเป็นลางว่า มีดาวดวงน้อยเปล่งรัศมีมาบดบังดวงจันทร์
โหรทำนายว่าพระญาติ(ไวยวิก)จะได้ขึ้นครองเมืองแทน ไมยราพจึงหาทางป้องกันมิให้เป็นไปตามคำทำนายโดยการจับไวยวิกและมารดาคือนางพิรากวน(พี่สาวของไมยราพ)ไปขังไว้
ฝ่ายพระรามก็ฝันว่าราหูมาบดบัง
พระอาทิตย์แล้วจับไปได้
พิเภกทำนายว่าพระรามจะถูกลักพาตัวไปแต่จะรอดกลับมาได้
เมื่อใดที่พระอาทิตย์ขึ้นพระรามจะพ้นเคราะห์ หนุมานจึงพยายามหาทางป้องกันโดยเนรมิตกายให้ใหญ่อมพลับพลาที่ประทับของพระรามเอาไว้
แต่ไมยราพซึ่งปลอมตัวเป็นพลทหารลิงแอบล่วงรู้ความลับนี้
จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศกวัดแกว่งกล้องทิพย์ทำให้เกิดความสว่าง
พลลิงทั้งหลายที่อยู่ยามเข้าใจว่าเป็นเวลาเช้าแล้วก็พากันละเลยต่อหน้าที่
บ้างก็นอนหลับ บ้างก็หยอกล้อกัน
ไมยราพจึงย่องเข้าไปเป่ายาสะกดไพร่พลในกองทัพของพระรามจนหลับใหลไปหมด
แล้วจึงแบกพระรามพาแทรกแผ่นดินไปยังเมืองบาดาล
เมื่อถึงเมืองบาดาลไมยราพสั่งให้นำพระรามไปขังไว้ในกรงเหล็ก
และนำไปไว้ยังดงตาลท้ายเมืองบาดาล จัดทหารยักษ์จำนวนโกฏิหนึ่ง( ๑๐ ล้านตน)เฝ้าเอาไว้อย่างแน่นหนา
และสั่งให้นางพิรากวนตักน้ำใส่กระทะใหญ่เพื่อเตรียมต้มพระรามกับไวยวิกในวันรุ่งขึ้น
ทางกองทัพของพระรามเมื่อทราบว่าพระรามถูกลักพาตัวไปให้หนุมานตามไปช่วยพระรามที่เมืองบาดาล
ระหว่างทางหนุมานได้พบกับด่านต่าง ๆ หลายด่าน คือ ด่านกำแพงหินที่มียักษ์รักษานับพัน
ด่านช้างตกมัน ด่านภูเขากระทบกันเป็นเปลวไฟ ด่านยุงตัวโตเท่าแม่ไก่
และด่านมัจฉานุ(บุตรของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา) หนุมานสามารถผ่านด่านต่างๆได้
และได้ขอให้มัจฉานุบอกทางไปยังเมืองบาดาลให้
แต่มัจฉานุนึกถึงพระคุณของไมยราพที่ชุบเลี้ยงตนเป็นบุตรบุญธรรม
จึงเลี่ยงบอกทางไปเมืองบาดาลให้หนุมานทราบเป็นความนัยให้หนุมานนึกเดาเอา
หนุมานจึงตามไปถึงเมืองบาดาลพบนางพิรากวนออกมาตักน้ำตามคำสั่งของไมยราพ
จึงขอให้นางพิรากวนพาเข้าเมืองบาดาลโดยการแปลงเป็นใยบัวติดสใบนางเข้าไป
หนุมานค้นหาพระรามจนพบแล้วร่ายมนต์สะกดยักษ์ที่อยู่เวรยามให้หลับหมดพาพระรามออกมาจากเมืองบาดาลและไปฝากเทวดาที่เขาสุรกานต์ให้ช่วยดูแลพระราม
ส่วนตนเองก็ย้อนกลับไปสู้กับไมยราพ และฆ่าไมยราพตายในที่สุด
คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องรามเกียรติ์
ด้านวรรณศิลป์
๑.การสรรคำ
การใช้คำที่หลากหลายในการสื่อความหมายถึงตัวละครแต่ละตัว ซึ่งการสรรคำ
จะทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความเบื่อหน่ายเพราะหากไม่มีการสรรคำก็จะต้องใช้สรรพนามแทนตัวละครหนึ่งๆซ้ำๆ
กันอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้เรื่องราวอาจกร่อยลงได้
คำที่มีความหมายว่า พระราม, พระนารายณ์
เมื่อนั้น
พระลักษมณ์ทรงสวัสดิ์รัศมี
น้อมเศียรกราบบาทพระจักรี ชุลีกรสนองพระบัญชา
เมื่อกี้ได้ยินสำเนียง
สุรเสียงสมเด็จพระเชษฐา
………………… …………………
พระพี่นางได้ยินเสียงมัน สำคัญว่าเสียงพระสี่กร
ขับน้องให้ตามเบื้องบาท พระตรีภูวนาททรงศร
ทูลว่าใช่เสียงพระภูธร อสุรีหลอกหลอนเป็นมายา
คำที่มีความหมายว่า นางสีดา
ก็เล็งทิพเนตรลงมาดู ก็รู้ว่าสมเด็จพระลักษมี
จะลุยเพลิงถวายพระจักรี ยังที่สุวรรณพลับพลา
เมื่อกี้ได้ยินสำเนียง
สุรเสียงสมเด็จพระเชษฐา
………………… …………………
ครั้นเห็นซึ่งดวงประทุมมาศ
โอภาสพรรณรายฉายฉัน
ผุดขึ้นกลางกองเพลิงนั้น รับองค์กัลยายุพาพาล
คำที่มีความหมายว่า ทศกัณฐ์
เมื่อนั้น
ทศเศียรสุริย์วงศ์ใจหาญ
เสด็จจากแท่นรัตน์ชัชวาล เข้าปราสาทสุรกานต์รูจี
เมื่อนั้น
ท้าวยี่สิบกรยักษา
เสียสองลูกรักคือดวงตา อสุรารำพึงคะนึงคิดฯ
๒.การเล่นคำซ้ำ
ทำให้เกิดความไพเราะและเสริมความงดงามของบทประพันธ์
ซึ่งในเรื่องรามเกียรติ์นี้พบเป็นจำนวนมาก เช่น
บัดนั้น
ปักหลั่นสิทธิศักดิ์ยักษี
ถาโถมโจมจ้วงทะลวงตี ด้วยกำลังอินทรีย์กุมภัณฑ์
ต่างถอยต่างไล่สับสน ต่างตนฤทธิแรงแข็งขัน
สองหาญต่อกล้าเข้าโรมรัน
ต่างตีต่างฟันไม่งดการ
คำที่มีความหมายว่า โกรธ ได้แก่ โกรธ โกรธา
กริ้ว๓. การหลากคำ หรือคำไวพจน์ การเลือกใช้คำที่เขียนต่างกันแต่ความหมายเหมือนกัน
เช่น
คำที่มีความหมายว่า ม้า ได้แก่ พาชี มโนมัย สินธพ
อาชาไนย อัสดร นฤเคนทร์ สีห์
คำที่มีความหมายว่า ศัตรู ได้แก่ ไพรี ปัจจามิตร
ปรปักษ์ อรินทร์ ไพริน อริ อัสดร เวรี
คำที่มีความหมายว่า ภูเขา ได้แก่ บรรพต สิงขร พนม
คีรี
ด้านเนื้อหา
เนื้อหานอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว
ตัวละครในเรื่องยังได้แสดงถึงคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เช่น
พระรามเป็นบุตรที่มีความกตัญญูต่อบิดามารดา
โดยยินยอมออกเดินป่าเป็นเวลาถึง ๑๔ ปีเพื่อรักษาความสัตย์ของบิดา
เมื่อนั้น
พระรามสุริยวงศา
รับเอาซึ่งเครื่องจรรยา
แล้วมีบัญชาตรัสไป
เอ็งจงกราบทูลเสด็จแม่
ว่าเราบังคมประนมไหว้
อันสัตย์พระปิตุรงค์ทรงชัย
กูนี้มิให้เสียธรรม์
อย่าว่าแต่ไปสิบสี่ปี
จะถวายชีวีจนอาสัญ
ให้เป็นที่สรรเสริญแก่เทวัญ
ว่ากตัญญูต่อบิดา
ซึ่งน้องเราจะผ่านพระนคร
ให้ถาวรบรมสุขา
วันนี้จะถวายบังคมลา
อย่าให้พระแม่ร้อนใจฯ
นอกจากนี้ยังมีข้อคิดที่ได้อีกมากมาย เช่น
๑.ทั้งในเรื่องความยุติธรรมของท้าวมาลีวราชที่ไม่เข้าข้างฝ่ายทศกัณฐ์ซึ่งเป็นหลานของตน
แต่ฟังความจากทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกคน
๒.การไม่เห็นแก้พวกพ้องจนเสียความยุติธรรม
เห็นได้จากสุครีพ ที่สาบานเป็นเพื่อนตายกับพิเภก
แต่เมื่อได้รับบัญชาให้สอบสวนนางเบญจกายซึ่งปลอมตัวเป็นนางสีดาตายลอยน้ำมาลวงพระราม
สุครีพสอบสวนความได้ว่า
นางเป็นธิดาของพิเภกจึงเชื่อคำให้การของนางเบญจกายแต่ก็ให้นางเข้าพบพระรามเพื่อตัดสินคดี
ไม่ปล่อยให้นางเป็นอิสระทันที
๓.ความกล้าหาญในการรบของหนุมานและสุครีพ
ที่ต่อสู้กับศัตรูอย่างกล้าหาญ
ด้านสังคม
๑.วัฒนธรรมและประเพณี ได้แก่ การทำกิจกรรมต่างๆ
เช่น ประเพณีการจัดทัพและการตั้งค่าย ความเชื่อเรื่องโชคลาง
และการบูชาบวงสรวงเทวดา เช่น พิธีปรุงข้าวทิพย์
ความเชื่อเรื่องโชคลางในการหาฤกษ์ยามที่เหมาะสมในการออกทัพ
หรือระเบียบวิธีทางการทูตสมัยเก่า เช่นการปฏิสันถารสามนัด (เมื่อพระราชาพบทูต
จะถามคำถามสามคำถามก่อนที่จะเจรจากัน ได้แก่ ๑.พระราชาของท่านเป็นอย่างไร
๒.เมืองของท่านเป็นอย่างไร ๓.ท่านมีจุดประสงค์อะไร
ซึ่งเป็นโอกาสให้ทูตให้ปฏิภาณไหวพริบตอบ) เป็นต้น
๒.การแสดงสภาพชีวิตความเป็นอยู่และค่านิยมของบรรพบุรุษ
ที่ย่อมจะสอดแทรกสภาพสังคมสมัยก่อน
๓.การเข้าในธรรมชาติของมนุษย์ ตัวละครแต่ละตัวเป็นตัวแทนของมนุษย์โดยทั่วไปที่มี
รัก โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจ
๔.เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ชื่อเมืองและสถานที่หลายๆแห่งในเรื่องรามเกียรติ์นั้น
ร่วมสมัยกับเมืองไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่นเมืองอยุธยา เมืองบุรีรัมย์
แม่น้ำสะโตง นอกจากนั้นเทคโนโลยีก็ร่วมสมัยกัน เช่นมีการกล่าวถึงอาวุธปืน
ซึ่งย่อมไม่มีในรามายณะ
นอกจากนั้นระบบการปกครองในรามเกียรติ์ยังเป็นระบบการปกครองแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เก่า
ที่เจ้าเมืองขึ้นยอมสยบต่อเมืองแม่เป็นทอดๆ โดยการเคารพใน ‘บุญ’ ของพระมหากษัตริย์เป็นหลัก
๕.สอดแทรกมุมมองของปราชญ์ไทยที่นอกเหนือจากรามายณะ
เช่น เมื่อกุมภกรรณออกรบกับพระรามนั้น
ได้ตั้งปริศนาถามพระรามไว้บอกว่าถ้าพระรามตอบได้จะยอมเลิกทัพกลับ ปริศนาถามว่า
ชีโฉด หญิงโหด ช้างงารี ชายทรชน สี่อย่างนี้คืออะไร
พระรามตอบไม่ได้จึงใช้องคตมาถาม กุมภกรรณจึงเฉลยว่า
หญิงโหด คือนางสำมะนักขาที่คิดเอาพระรามเป็นสามี
พอไม่ได้ก็และยุยงให้พี่น้องมารบกับพระรามจนเกิดเรื่อง
ช้างงารี คือทศกัณฐ์ที่เกะกะอันธพาล
ไปแย่งเมียคนอื่น
ชีโฉด คือพระรามที่เพื่อแย่งชิงนางสีดากลับ
ถึงกับยกทัพใหญ่มาทำการวุ่นวาย ทำให้คนบริสุทธิ์มากมายเดือดร้อน
ชายทรชน คือพิเภกที่ไม่รู้จักบุญคุณพี่น้อง
ไปบอกความลับของฝ่ายลงกาแก่ศัตรู เหมือนแกล้งฆ่าพี่น้องทุกคน
คำบริภาษนี้เป็นของปราชญ์ไทยแต่งขึ้นโดยไม่มีในรามายณะต้นฉบับ
ได้เป็นคำบริภาษทุกฝ่ายอย่างยุติธรรมตามมุมมองของกุมภกรรณ
หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองของกวีที่สอดแทรกไว้ก็ได้
สำนวนไทยที่สอดแทรก
กล่องดวงใจ : ในเรื่อง มียักษ์สองตนคือ
ทศกัณฐ์และไมยราพที่อยู่ยงคงกระพันแม้โดนฟาดฟันด้วยอาวุธต่างๆ ก็ไม่ตาย
ทั้งนี้เนื่องมาจาก ทั้งสองได้ถอดดวงใจออกจากตัวแล้วนำใส่กล่องไปเก็บไว้ที่อื่น
โดยที่ทศกัณฐ์นำดวงใจไปเก็บไว้ที่ภูเขานิลคีรี ส่วนไมยราพนั้นนำไปเก็บไว้